วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 ประจำวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558




บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

MixDiary_cat_11.gif


ความรู้ที่ได้รับ
*การสอนแบบขั้นตอน คือ การสอนแบบสาธิต


 เพลง นับนิ้วมือ


        นี้คือนิ้วมือของฉัน                   มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
        มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว                   มือขวาก็มีห้านิ้ว
        นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า         นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
        นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ                  นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ


รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

- รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
- รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
- รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
- รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
- รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
- รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง


ส่วนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
คือ กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม


ความสำคัญ

1. ใช้ในชีวิตจริง ในชีวิตประจำวัน
2. ทำให้เกิดความสัมพันธ์ความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆ
3. ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่างๆ
4. ตอบสนองความสามารถในหลายๆด้าน
5. สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน


**ถ้าเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง **

ทำให้เด็กใช้ชีวิตในแต่บะวันเกิดความลำบาก เพราะ คณิตศาสตร์เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในการใช้ชีวิต เช่น การซื้ออาหารรับประทาน การจ่ายค่ารถโดยสาร ทั้งสองสิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งในการใช้คณิตศาสตร์ โดยการการคิกคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าคณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน




ทักษะ
ให้นักศึกษานำป้ายชื่อมาติดตรงตารางเวลามาเรียนตามที่กำหนดให้พร้อมวาดรูปนาฬิกาและเขียนเวลากำกับด้วย พร้อมระดมความคิดเกี่ยวกับสาระที่ควรรู้

วิธีการสอน

ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง และบรรยายโดยารใช้คำถามให้คิดวิเคราะห์ ระดมสมองออกความคิดเห็น พร้อมบรรยาย Power point เป็นสื่อประกอบ

ประเมินห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาด กว้าง มีโต๊ะเพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน อากาศเย็นสบายกำลังดี

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลามีน้ำใจช่วยเพื่อนจัดดต๊ะเรียน มีความตั้งใจและฟังขณะที่อาจารย์บรรยาย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนมาเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังเวลาในขณะที่อาจารย์บรรยาย

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาสอนและปล่อยตรงเวลาแต่กายได้เหมาะสม บรรยายเนื้อหาอย่างละเอียด มีการยกตัวอย่างประกอบให้นักศึกษาได้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 ประจำวันศุกร์ที่ 13 เดือนกุมภาพันธ์ 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 6



ความรู้ที่ได้รับ
เลขที่ 15 นส.ภัทรวรรณ หนูแก้ว นำเสนองานวิจัย
ชื่องานวิจัยว่า กิจกรรมการเล่นแบบไทย เพื่อพัฒนาด้านมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ สิ่งที่ได้รับเมื่อเพื่อนนำเสนอ คือ เกมขี่ม้าก้านกล้วย และ รีรีเข้าสาร นำมาสอนและสอดแทรกคณิตศาสตร์โดยการนับ จำนวน 1-30.


*เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์*

1.เพลง
2.เกม
3.ปริศนาคำท้าย
4.นิทาน
5.คำคล้องจอง
6.บทบาทสมมติ
7.แผนภูมิภาพ
8.สื่อในท้องถิ่น
9.การเล่นแบบไท



กิจกรรมตามมาตรฐานการเรียนรู้ โดยมีเพื่อนออกมานำเสนอ

1.ยุภา เรื่องของ รูปทรง โดยการใช้กระดาษ ให้นำมาต่อเป็นรูปสามเหลี่ยม   
2. กมลรัตน์ เรื่องเงิน โดยการใช้บทบาทสมมติให้เด็กได้เล่น โดยการเล่นขายของ
3. ศุทธินี เรื่องเวลา โดยการใช้สัญลักษณ์เป็นสื่อ
4. ปรางชมพู เรื่องการจัดประเภท โดยนำของที่เหลือใช้มาเป็นสื่อ ให้เด็กได้แยกประเภท
5. ประภัสสร เรื่องตำแหน่ง โดยการติดชื่อไว้ในตำแหน่งที่นั่งของเด็ก 



*เนื้อเพลงที่ร่วมกันแต่งกับเพื่อนๆและอาจารย์ผู้สอน*
โดยการใช้เทคนิคคำคล้องจอง
ไข่ 2 ฟอง กลอง 2 ใบ ไก่ 2 ตัว วัว 2 เขา 
เกาเหลา 2 ชาม นับไปนับมา  2 อย่างหมดเลย 

ความรู้ที่ได้รับ
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีทั้งหมด 6 สาระ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณธรรมที่สอดแทรก คือ ความซื่อสัตย์และความสามัคคี

ทักษะ
คือได้ฝึกแต่งเพลงโดยฝช้เทคนิคคำคล้องจอง โดยมีอาจารย์คอยให้คำปรึกษา ให้ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 10 ชิ้น แล้วให้เอากระดาษมาต่อกันให้ได้เป็นรูปทรงต่างๆโดยแต่ละรูปทรงนั้นต้องไม่ซ้ำกัน



ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 10 ชิ้น 



                                  

วิธีสอน
บรรยายมีการใช้คำถามก่อนเข้าสู่บทเรียน พร้อมบรรยยาย Power point ประกอบ ระดมความคิดในการแต่งคำคล้องจอง และจัดแบ่งกลุ่มการทำกิจกรรม

ประเมินห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาดกว้างมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมที่เหมาะสม มีโต๊ะเพียงพอกับจำนวนผู้เรียน บรรยากาศเย็นดีไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป

ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์สอน ตอบคำถามให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมาก ไม่พูดคุยกันเสียงดัง

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนและปล่อยตรงเวลาและมีกิจกรรมที่น่าสนใจในการสอนทำให้นักศึกษาเพลิดเพลินและสนุกเนื้อหาที่ได้รับ 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 ประจำวันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558





 บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

                 


ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์อธิบายประกอบ Power point 
เรื่องสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยสาระทั้งหมดจะแบ่งออกเป็น 6 สาระ

1. จำนวนและการดำเนินการ

2. การวัด
3. เรขาคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะและกระบวนการ

ทักษะ

ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความตามที่ได้รับมอบหมาย เรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และให้นักศึกษานำป้ายชื่อที่ทำมาติดบนกระดาน

วิธีสอน

  ย มีการถามและตอบคำถามก่อนเข้าสู่บทเรียนพร้อมมีการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ขณะเรียน และบรรยาย Power point ประกอบการสอน

ประเมินสภาพห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาดบรรยากาศดีเหมาะกับการเรียน จำนวนโต๊ะ เก้าอี้เพียงพอกับนักศึกษา

ประเมินตนเอง

มีความพร้อมก่อนเข้าเรียน และตั้งใจเรียนตอบคำถามพูดคุยและเล่นกับเพื่อนบ้างขณะเรียน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจตอบคำถามและสนใจในการเรียน

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เตรียมความพร้อมก่อนมาสอนมาเป็นอย่างดี
มีการยกตัวอย่างประกอบการสอนที่น่าสนใจและเข้าใจหลักการได้ดี

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 ประจำวันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ.2558




บันทึกการเรียนครั้งที่ 4


happy




ความรู้ที่ได้รับ
รู้จักการบูรณาการเอาสิ่งที่ดำเนินในชีวิตประจำวันมาสอนในวิชาคณิตศาสตร์ เช่่น การใช้เกณฑ์เวลา มาก่อนหน้าหลังในการแบ่งกลุ่ม


1. ทฤษฏีเพียเจย์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
3. ขอบข่ายของหลักสูตร
4. หลักการสอนคณิตศาสตร์

                     *กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม *
1. กิจกรรมการแจ้ง
2. กิจกรรมสร้างสรรค์
3. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
4. เกมการศึกษา
5. กิจกรรมเสรี / เล่นตามมุม
6. กิจกรรมเสริมประสบการณ์

ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของบรูเนอร์
- ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ เรียนรู้จากการสัมผัสของจริง จับต้องได้
- ขั้นการเรียนรู้จากความคิด เรียนรู้จากมโนภาพและเรียนรู้จากภาพแทนของจริง
- ขั้นการเรียนรู้จากสัญลักษณ์และนามปธรรม
*เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเก็บข้อมูล *
คุณลักษะตามวัยของเด็กปฐมวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติ
คุณลักษณะตามวัย คือ พฤติกรรมที่แสดงออก
คุณลักษณะตามวัย ดูได้ตามหนังสือหลักสูตร



คณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจต์

ความรู้ทางกายภาพ คือ ความรู้ที่สามารถจับต้องได้รับรู้ได้
ความรู้ด้านเหตุผลคณิตศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นภายในที่เกิดจากการเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฏีโดยการลงมือกระทำที่เป็นผลสะท้อนนั้นเอง



 จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์

- เพื่อให้เด็กรู้จักคำศัพท์  เช่น มาก่อน มาหลัง จำนวน เวลา เป็นต้น
- รู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
- ฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน


ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

1. การสังเกต การเก็บรวบรวมโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
2. การจำแนกประเภท เปงการแบ่งประเภทโดยใช้เกณฑ์
3. การเปรียบเทียบ ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของสิ่งของ
4. การจัดลำดับ การจัดลำดับต้องมีการเปรียบเทียบก่อน
5. การวัด การหาค่าและปริมาณโดยใช้เครื่องมือ
6. การนับ
7. รูปทรงและขนาด


หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเด็กมองเห็นความจำเป็น
- เปิดโอกาสให้เด็กค้นพบด้วยตนเอง
- เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้


ทักษะ

อาจารย์ให้ทำแบบฝึกหัดก่อนเข้าสู่บทเรียน ให้เขียนป้ายชื่อแล้วนำไปติดหน้าบอร์ดตามเวลาที่ตัวเองมาเรียนสรุปจากการดูวิดีโอและออกมานำเสนอหน้าห้อง


วิธีการสอน

บรรยายประกอบ Powerpoint พร้อมมีคำถามขณะบรรยาย มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างอาจารย์และนักศึกษา


ประเมินสภาพห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาดและกว้างบรรยากาศดีมีการจัดโต๊ะเป็นรูปตัวยูทำให้พื้นที่ในการทำกิจกรรมกว้างขวาง


ประเมินตนเอง

มาเรียนตรงเวลามีการจดบันทึกขณะที่กำลังเรียนตั้งใจฟังและตอบคำถาม


ประเมินเพื่อน

เพื่อนมาเรียนช้า นั่งไม่สุภาพ พูดคุยขณะที่อาจารย์กำลังสอน


ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนได้เหมาะสม ให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดกันทำให้บรรยายกาศเกิดความสนุกสนานในการเรียนมีการพูดคุยกันโดยใช้เหตุผล



หมายเหตุ.คัดลอกมาจากนางสาวปรางชมพู บุญชม

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 ประจำวันศุกร์ที่ 23 มกราคม 2558






บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

Splash



ความรู้ที่ได้รับ
ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
ด้านสติปัญญาตามของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตสกี้ การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
ทักษะ
1.ความหมายของพัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
2.พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง
  2.1 พัฒนาการสติปัญญา คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่องในเรื่องของภาษาและการคิด
  2.2 การทำงานของสมองเพื่อการจัดลำดับขั้นสติปัญญาแต่ละช่วงวัย

แรกเกิด-2 ปี >>> ขั้นอนุรักษ์ 
 2 - 4 ปี >>> รู้จักรูปธรรม คือ ตอบตามที่ตาเห็น พูดเป็นประโยค เรียนรู้จากการสัมผัสทั้ง 5
 4 - 6 ปี >>> รู้จักรูปธรรมแบบมีเหตุผล คือ พูดเป็นประโยคมากขึ้นโดยมีเหตุผล

3.พัฒนาารด้านสติปัญญาตามของเพียเจต์ บรเนอร์ ไวกอตสกี้
  3.1 เพียเจย์ คือ การเรียนรู้แบบลำดับขั้น โดยใช้ปรสาทสมผัสท้ง 5
  3.2 บรูเนอร์ คือ 1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ
                           2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด
                           3.ขั้นสัญลักษณ์และนามธรรม
  3.3 ไวก๊อตสกี้ คือ เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของตัวเด็ก ได้กระบวนการที่สนับสนุนจากความร่วมมือของเพื่อน

4.การเรียนรู้ คือ การรับรู้แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
5.เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้  คือ การล่น การลงมือปฏิบัติโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 

วิธีการสอน
*** ครูใช้การบรรยาย  PowerPoint 
          -ใช้การถาม-ตอบ  ระดมความคิด
          -ใช้การเชื่อมโยง 
          -ใช้คำคล้องจอง


ประเมิน

สภาพห้องเรียน
- บรรยากาศภายในห้องเย็น อุปกรณ์ครบ แต่ยังไม่พร้อมใช้งานแต่ยังใช้ได้ 

ตัวเอง
- ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการเรียน แสดงความคิดเห็นร่วมกันกับเพื่อนๆในห้องเรียน

เพื่อนในห้องเรียน
- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม มีบางคนไม่สนใจนั่งทำงานของอาจารย์รายวิชาอื่น

อาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์แต่งกายสุภาพ สอนเข้าใจง่าย  มีวิธีการสอนให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนทำให้เรียนแล้วไม่ง่วง