วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 ประจำวันพุธที่ 22 เมษายน 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

                            

ความรู้ที่ได้รับ
เพลง ดอกไม้

ดอกไม้มีนานาพันธุ์
มะลิสีขาว กุหลาบสีแดง
ทานตะวันนั้นมีสีเหลือง
เด็กๆ ดูซิน่าชวนชมเอย 


เทคนิคการนำเสนอทดลองการสอน

เรื่อง ดอกไม้ 

1.การร้องเพลง
2.การถามประสบการณ์ดิมของเด็ก เกี่ยวกับดอกไม้ เมื่อเด็กตอบต้องเขียนแผนผังความคิดให้เด็กเห็น
3.นับจำนวนดอกไม้แล้วเขียนตัวเลขกำกับ
4.แยกกลุ่ม
5.แล้วถามถึงขั้นอนุรักษ์ของเด็ก
6.แล้วพิสูจน์ โดยจับคู่ออก 1 ต่อ 1 ถ้ากลุ่มไหนเหลือแสดงว่ามีมากกว่า แต่กลุ่มไหนหมดก่อนแสดงว่ามีน้อยกว่า
7.สุดท้าย สนทนากับเด็ก โดยใช้แผนผังความคิดที่เขียนไว้ก่อนหน้านี้ คือเป็นอันสรุปนั้นเอง
เทคนิคการสอนเด็กในเรื่องของการนับ โดยใช้ขนมบรรจุใส่กล่องไว้
1.การใช้คำถามความน่าจะเป็น ว่า ทั้งหมดในกล่องนี้มีกี่ชิ้น
2.แล้วนำมานับพร้อมกัน โดยมีสื่อที่วางชิ้นขนม เมื่อเวลานับจะได้มองเห็นได้อย่างชัดเจน และต้องเรียงให้เป็นเลขฐานสิบ

ทักษะที่ได้รับ

*วิเคราะห์โดยคำถามจากอาจารย์ผู้สอน*
*การระดมความคิดร่วมกันกับเพื่อนๆในชั้นเรียนหรือในกลุ่ม*
*การแสดงความคิดเห็น*

*การวิเคราะห์การนำเสนอการสอนของเพื่อน*
*การตอบคำถาม*
*การร้องเพลง และแต่งเติมเนื้อเพลง*
 


วิธีการสอน


-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การมีกิจกรรม
-การลงมือปฏิบัติและให้นักศึกษาวิเคราะห์โดยใช้คำถาม
-การประเมิน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา



ประเมินสภาพห้องเรียน
   อุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้งาน 

ประเมินตนเอง
   มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอน  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม มีสมาธิในการเรียน

ประเมินเพื่อน
  เพื่อนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดและวิเคราะห์ช่วยกันเป็นอย่างดี และช่วยกันให้คำแนะนำเสนอความคิดเห็นและช่วยเหลือในสิ่งที่บกพร่อง รับฟังความคิดของเพื่อน 

ประเมินอาจารย์

  เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนด้วยเสียงหัวเราะ  มีคำแนะนำและคำปรึกษาในเรื่องของงานที่มอบหมายให้ทำ มีการยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 ประจำวันพุธที่ 8 เมษายน 2558



บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 

ความรู้ที่ได้รับ

เพลง กล้วย
                  กล้วยคือผลไม้ ใครๆก็ชอบกินกล้วย 
             ค้างคาว ช้าง ลิง ฉันด้วยกินกล้วยมีวิตามิน
                    กล้วยส้ม กล้วยหอม กล้วยไข่ 
           ขาดไม่ได้คือกล้วยน้ำว้า ตัดใบห่อขนมเธอจ๋า
                     ส่วนก้านเอามาทำม้าก้านกล้วย

เพลงแตงโม
แตงโม แตงโม แตงโม
โอโฮ แตงโม ลูกใหญ่
เนื้อแดง เรียกว่า จินตหรา
เนื้อเหลือง นี่หนา เรียกว่า น้ำผึ้ง

                      เพลง ไก่ กระต๊าก กระต๊าก
 ไก่ไก่ไก่ ไก่นั้นมีสองขา
          ไก่ชนเดินมาแล้วร้องว่า กระต๊าก กระต๊าก
ไก่ไก่ไก่ ไก่นั้นมีสองขา
          ไก่แจ้เดินมาแล้วร้องว่า กระต๊าก กระต๊าก

ทักษะ
- นำเสนอการสอน การระดมความคิดระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
- นำเอาเพลงมาร้องประกอบการสอนในแต่ละแผนการสอน
- การแสดงความคิดเห็น การทำงานเป็นกลุ่ม

วิธีสอน
- มีการบรรยายและเขียนกระดานเพื่อให้เห็นภาพและเกิดความเข้าใจ
- มีการระดมความคิดเห็น
- ใช้คำถามระหว่างการสอน

ประเมินสภาพห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์สะดวกและทันสมัยต่อการใช้งาน

ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลาแต่งกายมาเรียนถูกระเบียบเรียบร้อย มีการเตรียมความพร้อม เตรียมอุปกรณ์เพื่อที่จะมานำเสนอแผนการสอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนเตรียมความพร้อมในการมานำเสนอแผนการสอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายมาสอนได้เหมาะสม ให้ความรู้และคำแนะนำอย่างละเอียดในการเขียนและนำเสนอแผน

หมายเหตุ  
ไม่ได้มาเรียนค่ะ คัดลอกมาจาก นางสาวปรางชมพู บุญชม


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 ประจำวันพุธที่ 3 เมษายน 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12



ความรู้ที่ได้รับ

เลขที่ 25 นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์กับเด็กอนุบาล 1
 สรุป เด็กอนุบาลจะเรียนรู้ผ่านการเล่น การสอนต้องให้เด็กมีส่วนร่วมด้วยเสมอให้เด็กได้สัมผัสจริง การทดสอบความเข้าใจจะใช้เกมมาวัดว่าเด็กเข้าใจไหม โดยจะใช้วิธีการสอนแบบซ้ำๆ

เลขที่4 นำเสนองานวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานของคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดประสบการณ์

เลขที่ 5 งานวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ใช้เกมและเพลงในการจัดการศึกษา
เครื่องมือทีึ่ใช้ แผนการจัดประสบการณ์เกมและเพลง และแผนการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
สรุป การใช้แผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาและเพลงดีกว่าแผนการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู

เลขที่ 6
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การจัดหมวดหมู่ การจำแนก และการจัดประเภท

ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม
1. ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
2. วิเคราะห์เนื้อหา
3. ศึกษาประสบการณ์สำคัญ
4. บูรณาการสาระคณิตศาสตร์
5. ออกแบบกิจกรรม

ทักษะ
อาจารย์ให้วิเคราะห์คำถาม
ให้นักศึกษาระดมความคิดและทำงานเป็นกลุ่ม
ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและเขียนแผนผังความคิดเป็น

วิธีสอน
ใช้การบรรยายประกอบ Power point มีกิจกรรมและยกตัวอย่างประกอบในการเรียนการสอน ให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติจริงในการออกแบบกิจกรรม

ประเมินสภาพห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด โต๊ะเก้าอี้ อยู่ในสภาพดี มีจำนวนเพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน  อุปกรณ์ในห้องเรียนสะดวกต่อการใช้งาน

ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลา แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน
เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือดีมากในการทำกิจกรรมต่างๆ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนและปล่อยตรงเวลา มีการเตรียมตัวมาสอนเป็นอย่างดี


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 ประจำวันพุธที่ 25 มีนาคม 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
                       

ความรู้ที่ได้รับ


   ได้รู้เทคนิคต่างๆในการแต่งนิทาน คำคล้องจอง และปริศนาคำทายc]tได้ปรับปรุงแก้ไขงานที่ตนเองนำเสนอให้งานมีประสิทธิภาพและดีขึ้นกว่าเดิม จากคำแนะนำจากอาจารย์ 


ทักษะ
  อาจารย์ให้ออกมานำเสนอ นิทาน คำคล้องจอง และปริศนาคำทาย ที่ให้นักศึกษาไปทำมาในสาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

วิธีสอน
สอนโดยมีการใช้คำถาม และแนะนำเทคนิควิธีการต่างๆให้นักศึกษา

ประเมินสภาพห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาดบรรยากาศดีเหมาะกับการเรียน จำนวนโต๊ะ เก้าอี้เพียงพอกับนักศึกษา

ประเมินตนเอง

มีความพร้อมก่อนเข้าเรียน และตั้งใจเรียนตอบคำถามพูดคุยและเล่นกับเพื่อนบ้างขณะเรียน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจตอบคำถามและสนใจในการเรียน

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เตรียมความพร้อมก่อนมาสอนมาเป็นอย่างดี

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 ประจำวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
                    

ความรู้ที่ได้รับ


ได้รับมอบหมายในเรื่อง สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ



คำคล้องจอง จำนวนนับ

  ฉันมีเพื่อนสองคน   มีแก้วคนละสองใบ
  แล้วเอามารวมกัน    แก้วสี่ใบสุขใจจริงเอย


ปริศนาคำทาย


ฉันชื่อจุ๊บจิบ ฉันมีตัวกลม มันคืออะไรน๊า
เพื่อนตอบว่า : ลูกบอล
ฉันตอบว่า : ไม่ใช่
ฉันชื่อจุ๊บจิบ ฉันมีตัวกลม และฉันมีฝาแฝดตัวกลมๆ น่าตาเหมือนกันเลย มันคืออะไรน๊า
เพื่อนตอบว่า : เลข 8
ฉันตอบว่า : ใช่ มันคือเลข 8 เพื่อนๆเก่งจังเลย

นิทาน เรื่องหนูแดงนับเลข


หนูแดงเป็นลูกสาวคนเดียวของครอบครัวสุขสันต์ วันหนึ่งคุณแม่ให้หนูแดงเอาตะกร้าผลไม้ไปฝากคุณยาย ในตะกร้าใบนั้นมีผลไม้ อยู่5ชนิด คือ แอปเปิ้ล กล้วย องุ่น ส้ม และฝรั่ง คุณแม่บอกทางหนูแดงว่าบ้านคุณยาย เป็นบ้านหลังที่ 5 หลังคาสีเขียวซึ่งไม่ไกลจากบ้านของเธอนัก หนูแดงเดินไปถึงปากซอย เจอบ้านหลังที่ 1 หลังคาสีแดง สีของหลังคา เหมือนสีของแอปเปิ้ลในตะกร้าที่จะเอาไปฝากคุณยายเลย หนูแดงจึงนึกสนุกเดินผ่านบ้านหลังที่2 หลังคาสีเหลืองเหมือนสีของกล้วยในตะกร้าเลย หนูแดงเดินผ่านบ้านหลังที่ 3 หลังคาสีม่วงสีของหลังคาเหมือนสีขององุ่นที่อยู่ในตระกร้าอีกแล้ว หนูแดงเดินผ่านบ้านหลังที่ 4 หลังคาสีส้ม สีของหลังคาก็เหมือนสีของส้มที่อยู่ในตะกร้าเลย หนูแดงเดินถึงบ้านหลังที่ 5 หลังคาสีเขียว สีของหลังคาเหมือนสีของฝรั่งที่อยู่ในตะกร้า ซึ่งเป็นบ้านของคุณยายหนูแดงนั้นเอง หนูแดงจึงเคาะประตูบ้านเรียกหาคุณยาย คุณยายค่ะ เมื่อคุณยายเดินมาเปิดประตูบ้านให้หนูแดงหนูแดงรีบทักทายคุณยายว่า สวัสดีค่ะคุณยาย


ประเมินตนเอง
มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆช่วยกันทำงานในแต่ละกลุ่มของตนเองอย่างตั้งใจ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 ประจำวันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9


ความรู้ที่ได้รับ


- ทำกิจกรรมตารางก่อนเรียน เปรียบเทียบวิเคราะห์ความเหมือน ความแตกต่างของผลไม้

- นำเสนอวิจัย
  •  เลขที่22  เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
จัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ โดยใช้ขั้นตอนการเรียนรู้ตามรูปแบบ 4ขั้นตอน คือ การกระตุ้นการเรียนรู้  กรองมโนทัศน์หรือการมองให้เห็หนรูปภาพ การพัฒนาศิลปะ สรุปสาระสำคํญ ซึ่งทั้ง4ขั้นตอเรื่องของการจำแนก บอกตำแหน่ง การตอบปากเปล่า ทักษะการรู้ค่าจำนวน

  • เลขที่ 24 เรื่อง พัฒนาความพร้อมคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยใช้เพลง
สอนผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและเพลง โดยจะแบ่งวิธีการสอนออกเป็น5ขั้นตอนด้วยกัน คือ 
- ครูเปิดเพลงที่มีเนื้อหาคณิตศาสตร์ให้เด็กฝึกร้อง
- ให้เด็กเคลื่อนไหวประกอบเพลงและการเรียนรู้ผ่านการเล่น
- ครูสร้างกติกาให้เด็กได้เล่นเกม
- ช่วงเวลาอื่นก็จะเปิดเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้เด็กฟัง
- จัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และเปลี่ยนเพลงไปเรื่อยๆ

การจัดกิจกรรมนี้เด็กได้เรียนรู้เรื่อง สูง ต่ำ สั้น ยาว การนับจำนวน

ทักษะ

- วิเคราะห์คำถามจากอาจารย์ผู้สอน
- การร้องเพลง
- ทำกิจกรรม การเปรียบเทียบวิเคราะห์ความเหมือนความต่างของผลไม้
- นำเสนองานในรูปแบบ Power point
- นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์

วิธีการสอน

- บรรยายประกอบ Power point
- ใช้คำถามในการสอน
- มีการระดมความคิด

- การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
- การแนะนำและการยกตัวอย่าง
- การร้องเพลง
- การประเมิน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา

วิธีสอน
บรรยายมีการใช้คำถามก่อนเข้าสู่บทเรียน พร้อมบรรยยาย Power point ประกอบ ระดมความคิดในการแต่งคำคล้องจอง และจัดแบ่งกลุ่มการทำกิจกรรม

ประเมินห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาดกว้างมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมที่เหมาะสม มีโต๊ะเพียงพอกับจำนวนผู้เรียน บรรยากาศเย็นดีไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป

ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์สอน ตอบคำถามให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมาก ไม่พูดคุยกันเสียงดัง

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนและปล่อยตรงเวลาและมีกิจกรรมที่น่าสนใจในการสอนทำให้นักศึกษาเพลิดเพลินและสนุกเนื้อหาที่ได้รับ 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 ประจำวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2558



บันทึกการเรียนครั้งที่ 8



ความรู้ที่ได้รับ

- นำเสนอบทความ
  •  เลขที่19 เรื่องทำไมสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กเล็ก
 การสอนเด็กเล็กจะเป็นการกระตุ้นสมองเด็กเพราะเด็กในวัยนี้จะจดจำและเรียนรู้ได้ดี จากสิ่งรอบตัว ซึ่งทักษะที่สอนนี้จะสอนผ่านการอ่าน เป็นการกระตุ้นสมองซีกขวาทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

  • เลขที่ 20 เรื่อง คณิตศาสตร์เรียนอย่างไรให้สนุกและเข้าใจ
จะใช้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์แบบไม่ลงโทษเด็กเวลาเด็กทำการบ้านไม่เสร็จแต่จะให้เวลาเด็กทำก่อนเรียน 20 นาที และเวลาที่เด็กทำผิดก็จะไม่กากบาทลงในข้อที่ผิดแต่จะเรียกมาอธิบายข้อผิดให้ฟังและให้แก้ข้อผิดตรงนั้นเลย


- แต่ละกลุ่มนำเสนอการจัดรูปแบบการสอนในแบบต่างๆ
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ 
เป็นการสอนแบบให้ความสำคัญกับเด็กส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้

มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรม คือ การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน  ทัศนศึกษา สืบค้น นำเสนอผลงาน
  • การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน   จะมีพื้นฐาน 3ข้อ ของการเรียนรู้ คือ 
  1. การทำให้เด็กเกิดการตื่นตัวผ่อนคลาย  ก็คือการสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน แต่มีความท้าทายชวนให้ค้นคว้าหาคำตอบ
  2. การทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน  ต้องมีการใช้สื่อหลายๆรูปแบบ รวมทั้งการยกปรากฏการณ์จริงมาเป็นตัวอย่างและมีการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ มีการเชื่อมโยงความรู้หลายๆอย่าง
  3. ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง ให้เด็กลงมือทดลอง ประดิษฐ์หรือได้เล่าประสบการณืจริงที่เกี่ยวข้อง
  • การจัดการเรียนรู้แบบ STEM 
จะเน้นให้เด็กแก้ปัญหาโดยใช้องค์ความรู้และทักษะกระบวนการต่างๆมาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานหรือออกแบบวิธีการภายใต้ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่กำหนดโดยจะมีรายละเอียดที่ปรับเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กในช่วงวัย

  • การจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสเซอรี่
ความสำคัญจะอยู่ที่อุปกรณ์การสอนหรือการเรียนรู้ ให้เด็กได้สัมผัสด้วยมือของตนเอง อุปกรณ์จะเป็นองค์ประกอบหลักของกิจกรรมที่ทำให้เด็กเรียนรู้และแก้ไขให้ถูกต้องด้วยตนเอง จะเน้นการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอนที่ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก

  • การเรียนรู้แบบบูรณาการ ด้วย Storyline  Approach
เป็นการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ซึ่งมีความหลากหลายทั้งรูปแบบ ความยากง่าย ผู้เรียนสามารถแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเองเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาวุฒิภาวะและทักษะทางสังคม 


- ร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

        
    เพลง  เท่ากัน  -  ไม่เท่ากัน


ช้างมีสี่ขา          ม้ามีสี่ขา

  คนเรานั้นหนา          สองขาต่างกัน

                  ช้าม้ามี          สี่ขาเท่ากัน  (ซ้ำ)
    
          แต่กับคนนั้น         ไม่เท่ากันเอย  (ซ้ำ)


เพลง  บวก - ลบ

   บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ                ครูให้อีกสามใบนะเธอ

        มารวมกันนับดีดีซิเออ                ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ

  บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ            หายไปสามใบนะเธอ

ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ               ดูซิเธอเหลือเพียงสี่ใบ


เพลง  จับปู

1 2 3 4 5           จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว

 6 7 8 9 10             ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว

                                         กลัวฉัน กลัวฉัน กลัว       ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ




ทักษะ
ให้นักศึกษานำป้ายชื่อมาติดตรงตารางเวลามาเรียนตามที่กำหนดให้พร้อมวาดรูปนาฬิกาและเขียนเวลากำกับด้วย พร้อมระดมความคิดเกี่ยวกับสาระที่ควรรู้

วิธีการสอน

ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง และบรรยายโดยารใช้คำถามให้คิดวิเคราะห์ ระดมสมองออกความคิดเห็น พร้อมบรรยาย Power point เป็นสื่อประกอบ

ประเมินห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาด กว้าง มีโต๊ะเพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน อากาศเย็นสบายกำลังดี

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลามีน้ำใจช่วยเพื่อนจัดดต๊ะเรียน มีความตั้งใจและฟังขณะที่อาจารย์บรรยาย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนมาเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังเวลาในขณะที่อาจารย์บรรยาย

ประเมินอาจารย์

อาจารย์สอนบรรยายเนื้อหาอย่างละเอียด มีการยกตัวอย่างประกอบให้นักศึกษาได้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้น

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 ประจำวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558




บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

MixDiary_cat_11.gif


ความรู้ที่ได้รับ
*การสอนแบบขั้นตอน คือ การสอนแบบสาธิต


 เพลง นับนิ้วมือ


        นี้คือนิ้วมือของฉัน                   มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
        มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว                   มือขวาก็มีห้านิ้ว
        นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า         นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
        นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ                  นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ


รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

- รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
- รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
- รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
- รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
- รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
- รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง


ส่วนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
คือ กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม


ความสำคัญ

1. ใช้ในชีวิตจริง ในชีวิตประจำวัน
2. ทำให้เกิดความสัมพันธ์ความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆ
3. ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่างๆ
4. ตอบสนองความสามารถในหลายๆด้าน
5. สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน


**ถ้าเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง **

ทำให้เด็กใช้ชีวิตในแต่บะวันเกิดความลำบาก เพราะ คณิตศาสตร์เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในการใช้ชีวิต เช่น การซื้ออาหารรับประทาน การจ่ายค่ารถโดยสาร ทั้งสองสิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งในการใช้คณิตศาสตร์ โดยการการคิกคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าคณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน




ทักษะ
ให้นักศึกษานำป้ายชื่อมาติดตรงตารางเวลามาเรียนตามที่กำหนดให้พร้อมวาดรูปนาฬิกาและเขียนเวลากำกับด้วย พร้อมระดมความคิดเกี่ยวกับสาระที่ควรรู้

วิธีการสอน

ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง และบรรยายโดยารใช้คำถามให้คิดวิเคราะห์ ระดมสมองออกความคิดเห็น พร้อมบรรยาย Power point เป็นสื่อประกอบ

ประเมินห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาด กว้าง มีโต๊ะเพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน อากาศเย็นสบายกำลังดี

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลามีน้ำใจช่วยเพื่อนจัดดต๊ะเรียน มีความตั้งใจและฟังขณะที่อาจารย์บรรยาย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนมาเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังเวลาในขณะที่อาจารย์บรรยาย

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาสอนและปล่อยตรงเวลาแต่กายได้เหมาะสม บรรยายเนื้อหาอย่างละเอียด มีการยกตัวอย่างประกอบให้นักศึกษาได้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 ประจำวันศุกร์ที่ 13 เดือนกุมภาพันธ์ 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 6



ความรู้ที่ได้รับ
เลขที่ 15 นส.ภัทรวรรณ หนูแก้ว นำเสนองานวิจัย
ชื่องานวิจัยว่า กิจกรรมการเล่นแบบไทย เพื่อพัฒนาด้านมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ สิ่งที่ได้รับเมื่อเพื่อนนำเสนอ คือ เกมขี่ม้าก้านกล้วย และ รีรีเข้าสาร นำมาสอนและสอดแทรกคณิตศาสตร์โดยการนับ จำนวน 1-30.


*เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์*

1.เพลง
2.เกม
3.ปริศนาคำท้าย
4.นิทาน
5.คำคล้องจอง
6.บทบาทสมมติ
7.แผนภูมิภาพ
8.สื่อในท้องถิ่น
9.การเล่นแบบไท



กิจกรรมตามมาตรฐานการเรียนรู้ โดยมีเพื่อนออกมานำเสนอ

1.ยุภา เรื่องของ รูปทรง โดยการใช้กระดาษ ให้นำมาต่อเป็นรูปสามเหลี่ยม   
2. กมลรัตน์ เรื่องเงิน โดยการใช้บทบาทสมมติให้เด็กได้เล่น โดยการเล่นขายของ
3. ศุทธินี เรื่องเวลา โดยการใช้สัญลักษณ์เป็นสื่อ
4. ปรางชมพู เรื่องการจัดประเภท โดยนำของที่เหลือใช้มาเป็นสื่อ ให้เด็กได้แยกประเภท
5. ประภัสสร เรื่องตำแหน่ง โดยการติดชื่อไว้ในตำแหน่งที่นั่งของเด็ก 



*เนื้อเพลงที่ร่วมกันแต่งกับเพื่อนๆและอาจารย์ผู้สอน*
โดยการใช้เทคนิคคำคล้องจอง
ไข่ 2 ฟอง กลอง 2 ใบ ไก่ 2 ตัว วัว 2 เขา 
เกาเหลา 2 ชาม นับไปนับมา  2 อย่างหมดเลย 

ความรู้ที่ได้รับ
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีทั้งหมด 6 สาระ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณธรรมที่สอดแทรก คือ ความซื่อสัตย์และความสามัคคี

ทักษะ
คือได้ฝึกแต่งเพลงโดยฝช้เทคนิคคำคล้องจอง โดยมีอาจารย์คอยให้คำปรึกษา ให้ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 10 ชิ้น แล้วให้เอากระดาษมาต่อกันให้ได้เป็นรูปทรงต่างๆโดยแต่ละรูปทรงนั้นต้องไม่ซ้ำกัน



ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 10 ชิ้น 



                                  

วิธีสอน
บรรยายมีการใช้คำถามก่อนเข้าสู่บทเรียน พร้อมบรรยยาย Power point ประกอบ ระดมความคิดในการแต่งคำคล้องจอง และจัดแบ่งกลุ่มการทำกิจกรรม

ประเมินห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาดกว้างมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมที่เหมาะสม มีโต๊ะเพียงพอกับจำนวนผู้เรียน บรรยากาศเย็นดีไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป

ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์สอน ตอบคำถามให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมาก ไม่พูดคุยกันเสียงดัง

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนและปล่อยตรงเวลาและมีกิจกรรมที่น่าสนใจในการสอนทำให้นักศึกษาเพลิดเพลินและสนุกเนื้อหาที่ได้รับ